วืธีการใช้งานการตั้งค่าต่างๆ
Last updated
Last updated
ในส่วนของการตั้งค่า จะมีเมนูให้ท่านเลือกใช้งานดังภาพ
ในส่วนเมนูจัดการข้อมูลผู้ใช้งาน ท่านสามารถ จัดการข้อมูลยูสต่างๆได้ ดังนี้
สร้างการเชิญผู้ใช้งาน
แก้ไขข้อมูล หรือ ลบข้อมูล
จัดการ การเชิญผู้ใข้งาน
ขั้นตอนแรกให้ท่านกดไปที่ สร้างการเชิญผู้ใช้งาน ทางด้านขวาบน ดังรูป
ในส่วนนี้เป็นการปรับขนาดเนื้อที่ในการเก็บข้อมูล ซึ่งท่านสามารถตั้งค่าได้ว่าใน User นี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้เท่าไหร่ และท่านยังสามารถเลือก หน่วยความจุได้โดยกดไปที่คำว่า " MB " หลังจากกดจะพบว่ามีหน่วยความจุให้ท่านเลือกสองหน่วย ดังนี้
MB (MegaByte)
GB (GigaByte)
โดย 1024 MB เท่ากับ 1 GB
ในส่วน ใบอนุญาตที่มีการใข้งานอยู่ คือ การอนุญาตในบริษัทนั้นๆ ว่ามีการใข้งานอยู่กี่ยูส ใช้ได้สูงสุดกี่ยูส ดังในตัวอย่างมีการใช้อยู่ 15/30 User
ในส่วนนี้ คือบอกจำนวนความจุในการเก็บข้อมูลที่เหลืออยู่ของบริษัท
เมื่อเสร็จสิ้นในการตั้งค่าแล้ว คุณสามารถกด "สร้างลิงก์" หลังจากนั้น ลิงก์ เชิญของคุณก็จะพร้อมใช้งาน
ในส่วนการตั้งค่า บริษัท คุณสามารถ ตั้งค่าข้อมูลต่างๆได้ ดังนี้
การตั้งชื่อของ บริษัท
การกำหนดอีเมล์ของ บริษัท
การกำหนดท่ีอยู่ของ บริษัท
การกำหนดเลขภาษีอากรของ บริษัท
การกำหนดเบอร์โทรของ บริษัท
การกำหนดโลโก้ของ บริษัท
การกำหนดสแตมป์ของ บริษัท
หลังจากแก้ไขข้อมูลเสร็จสิ้นแล้วให้ท่านกด " บันทึก " เพื่อบันทึกการเปลื่ยนแปลง
ในหน้านี้ จะเป็นการกำหนดบทบาทในการเข้าถึงงาน โดยท่านสามารถกำหนดได้ว่าแต่ละบทบาทนั้นสามารถทำอะไรได้บ้าง หรือ ท่านสามารถ ลบ และ คัดลอก บทบาทเดิมที่มีอยู่ได้
ขั้นตอนในการเพิ่มบทบาท ให้ท่านกดไปที่ "+ บทบาท" เพื่อเข้าสู่หน้าเพิ่มบทบาท
พอเข้าสู่หน้าเพิ่มบทบาท ท่านจะสามารถ กำหนดชื่อตัว บทบาท ได้ โดยตัวอย่างจะกำหนดเป็น Administrator
ในส่วนต่อมา เป็นการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงว่าท่านจะให้บทบาทนั้นๆ ใช้งานฟังก์ชั่นอะไรได้บ้าง โดยท่านสามารถติ๊กเพียงแค่อันเดียว หรือ ทั้งหมดก็ได้
โดยในตัวอย่างเราจะกำหนดให้เป็น Administrator หรือ ผู้ดูแลระบบ ( สามารถเข้าถึงได้ทุกอย่าง )
เมื่อกำหนดสิทธิ์เสร็จแล้วให้ท่านกดที่ " เพิ่ม " เพื่อบันทึกและเพิ่มบทบาทที่ท่านได้ทำลงไป แค่นี้ก็เป็นการเสร็จสิ้นการเพิ่มบทบาท
รายการเลขทะเบียน คือ การกำหนดให้เลขทะเบียนเพิ่มขึ้นเมื่อมีการสร้างงานขึ้นมาใหม่ โดยสามารถกำหนดตั้งค่าต่างๆได้ ดังนี้
กำหนดชื่อของเลขทะเบียนได้
กำหนดชื่อเล่นของเลขทะเบียนได้
กำหนดจำนวนของเลขทะเบียนได้
กำหนดหลักในการนับของเลขทะเบียนได้
กำหนดการนับของเลขทะเบียนได้
วิธีการสร้างเลขทะเบียนให้ท่านกดไปที่ "Create" มุมขวาบน
ในส่วนนี้ท่านสามารถ เปลื่ยนชื่อได้ตามที่ท่านต้องการ ในตัวอย่างนี้จะเปลื่ยนเป็น "Human Resources"
ส่วน Prefix ท่านสามารถกำหนดชื่อเล่น หรือ ชื่อย่อ ของ Running Number ได้ ในตัวอย่างจะตั้งเป็น "HR"
ส่วนของ Count เป็นส่วนกำหนดจำนวนเริ่มต้นของ Running Number
ส่วนของ digit เป็นส่วนกำหนดหลักในการรัน เช่น กำหนด เป็น 3 ก็จะเป็น HR-001
ส่วนนี้เป็นส่วนกำหนดในการนับว่าต้องการแบบไหนมีดังนี้
Sequence คือ การนับเลขอย่างเดียว
Prefix คือ การนับโดยมี Prefix
Mount คือ การนับโดยใช้เดือน
ส่วนนี้เป็นส่วนกำหนดสถานะ ว่าอยู่ในสถานะไหน
Active คือ เปิดใช้งาน
InActive คือ ไม่เปิดใช้งาน
ส่วนนี้เป็นส่วนของการสร้างตัวแปร ท่านสามารถเลือกสร้างตัวแปรได้โดยกดที่มุมขวาบนดังรูป
ท่านสามารถกำหนดชื่อของตัวแปรได้ โดยตัวอย่างจะกำหนดให้เป็น address
ในส่วนของ description คือรายเอียดเพิ่มเติม ท่านสามารถจะใส่หรือไม่ก็ได้ โดยตัวอย่างจะใส่เป็น ที่อยู่ของบริษัทสยามราชธานี
ในส่วนของ type จะเป็นการกำหนดประเภทของตัวแปรว่าจะเป็นแบบใด
Text คือ ตัวแปรที่เป็นประเภทข้อความ
ตัวอย่างการใช้งาน ใช้กำหนด ที่อยู่ , เบอร์โทรศัพท์
Number คือ ตัวแปรประเภทตัวเลข โดยตัวเลขต้องไม่มี 0 ขึ้นต้น
ตัวอย่างการใช้งาน ใช้กำหนด ราคา , จำนวน
โดยในตัวอย่างจะใช้เป็น Text เพื่อกำหนดที่อยู่ของบริษัท
เมื่อท่านเลือก type แล้วจะเห็นสิ่งท่ีเพิ่มมาคือ Default Value ให้ท่านใส่ข้อมูลที่ต้องการลงไป โดยตัวอย่างจะใช้เป็น ที่อยูของบริษัทสยามราชธานี เมื่อเสร็จสิ้นแล้วให้ท่านที่ "SAVE" เพื่อบันทึกตัวแปร
หลังจากที่ท่านบันทึกแล้วตัวแปรของท่านจะถูกเพิ่มขึ้นมาในหน้าแรก แค่นี้ก็เป็นการเสร็จสิ้นการสร้างตัวแปร
การสร้าง Widget ให้ท่านทำการคลิ๊กไปตามสี่เหลี่ยมดังรูป
หลังจากนั้นท่านจะมาพบกับหน้าต่างของการสร้าง Widget
ในส่วนนี้ท่านสามารถตั้งชื่อ Widget ของท่านได้ โดยในรูปตัวอย่างเราจะตั้งว่า Test
ส่วนนี้จะเป็นการเลือกการสร้างตัว Widget โดยท่านสามารถเลือกได้ว่าต้องการตัว Widget กี่อัน โดยท่านสามารถสร้างสูงสุดได้ 3 อัน
หลังจากที่ท่านเลือกแล้วให้ทำการกด add ตามวงกลมในรูป
หลังจากที่ท่านทำการ add ท่านจะพบหน้าต่างของตัวกราฟ ท่านสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมได้เลย โดยตัวอย่างนี้เราจะใช้เป็นตัว COLUMN
จากนั้นตัวกราฟที่เราเลือกจะแสดงขึ้นมา ให้ท่านทำการตั้งค่าตัว Widget หรือ ถ้าท่านไม่ต้องการที่จะใช้กราฟนี้ ท่านสามารถเปลี่ยนได้ตรง CHANGE ตามลูกศรในรูป
ขั้นตอนแรกให้ท่านทำการกดที่รูปเฟืองตามวงกลมในรูป
หลังจากที่ท่านกดรูปเฟืองแล้วจะมีแถบ Database และ Propertiers เราจะมาเริ่มจากตัว Database ก่อน หลังจากท่านคลิ๊กมาตรงส่วน Database ท่านจะเห็นตามลูกศรให้ท่านทำการคลิ๊กเข้าไป
จากนั้นจะปรากฏตัวฐานข้อมูลที่เราต้องการใช้ขึ้นมาให้ โดยในตัวอย่างเราจะใช้ตัว jobActivity
ต่อมาจะเป็นส่วนของ Properties
ในส่วนนี้จะเป็นการกำหนดชื่อของตัวการฟ ท่านสามารถตั้งใช้ตามความเหมาะสมของท่านได้เอง
ส่วนนี้จะเป็นส่วนของ มิติช่วงข้อมูล และ มิติข้อมูล
ในส่วนนี้จะเป็นมิติช่วงข้อมูล ซึ่งตัวนี้มีหน้าที่ กำหนดค่าต่างๆ เช่น ชื่อ วันที่ เป็นต้น
หลังจากที่ท่านทำการกด + เข้ามาแล้วจะพบกับหน้าต่างนี้ หลังจากนี้ให้ทำการติ๊กเลือกฟิล์ดที่ท่านต้องการใช้ตามความเหมาะสม
ตัวอย่างเราจะทำการเลือกฟิล์ดในส่วนของ name หลังจากนั้นให้ท่านกดตามวงกลมสีแดง เมื่อท่านกดแล้วตัวฟิล์ดจะถูกย้ายมาอยู่ในช่องด้านขวาแทน แล้วให้ท่านทำการกดเลือกอีกครั้งหนึ่งแล้วกดยืนยัน
หลังจากนั้นฟิล์ดที่ท่านเลือกจะมาปรากฏขึ้นในแถบ มิติช่วงข้อมูล
ในส่วนของมิติข้อมูลก็ทำงานคล้ายๆกัน โดยท่านสามารถเลือกฟิล์ดข้อมูลมาแสดงในกราฟ
ต่อมาจะเป็นส่วนของจำนวนแถว โดยเราสามารถกำหนดจำนวนแถวตามความเหมาะสม
ส่วนนี่จะเป็นการกำหนดแถวที่เริ่ม โดยท่านสามารถกำหนดค่าได้ตามเหมาะสม ในตัวอย่างของแต่ละรูปเราจะใช้เป็น "ค่าเริ่มต้น"
ต่อมาจะเป็นในส่วนของการจัดเรียง โดยท่านสามารถกำหนดได้ว่าต้องการให้ เริ่มจาก มากไปน้อย หรือ น้อยไปมาก
ในส่วนนี้จะเป็นการ กำหนดช่วงวันที่ โดยท่านสามารถกำหนดเวลาได้อัตโนมัติ โดยค่าเริ่มต้นที่กำหนดไว้จะเป็น 30 วัน (ไม่รวมกับเวลาปัจจุบัน) หรือหากท่านไม่ต้องการค่าอัตโนมัติ ท่านสามารถกำหนดค่าได้เองโดยการติ๊กที่ กำหนดเอง แล้วท่านก็สามารถกำหนดวันตามความเหมาะสมของท่านได้เลย
ส่วนนี้จะเป็นการรวมข้อมูล
หลังจากที่ท่านคลิ๊กเข้ามาท่านจะพบกับหน้าต่างนี้ ในกรอบสี่เหลี่ยมจะเป็นส่วนของเป็นการเลือกฟิล์ดเพื่อหาค่าเฉลี่ย
หากท่านต้องการเพิ่มฟิล์ดข้อมูล และ รวมข้อมูล ให้ท่านกดคำว่าเพิ่ม ตามวงกลมได้เลย
ต่อมาเป็นการเลือกฟิลด์เพื่อหาค่าเฉลี่ย
หากท่านต้องการที่จะหาค่าอื่นๆ ให้ท่านกดตามรูปเพื่อแสดงแถบ แล้วเลือกใช้ตามความเหมาะสมของท่านได้เลย
ส่วนนี้จะเป็นหน้าของการสร้างฟิลเตอร์ โดยจะกำหนดการเลือกหัวข้อมาให้ 3 หัวข้อ
ฟิล์ดข้อมูล คือ การเลือกหัวข้อของฟิล์ดที่เราจะใช้
ตัวกรอง คือ เลือกตัวกรองเพื่อหาค่า
ค่าเฉลี่ย คือ การหาค่า value
เมื่อเสร็จขั้นตอนแล้วให้กดยืนยัน
หลังจากเพิ่มข้อมูลเสร็จแล้ว ให้ท่ากดบันทึกให้เรียบร้อย
ในส่วนนี้เป็นการเลือกสิทธิในการเข้าถึง โดยจะกำหนดตามบทบาทที่เราได้สร้างไว้ในหัวข้อ
ในส่วนของ กลุ่ม เป็นการตั้งว่าจะให้ผู้ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมกลุ่มไหน สามารถดูรายเอียดเพิ่มเติมได้ที่